วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

นกแก้วโม่ง

แก้วโม่ง (Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก - กลาง ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยังทวีปยุโรป

แก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน


ลักษณะทั่วไป นกแก้วโม่ง
เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ลำตัวยาว 51 เซนติเมตร หางเล็กเรียวยาว ลำตัวสีเขียว จะงอยปากอวบอูม ปลายปากงุ้มลงสีแดง มีแถบสีแดงบริเวณหัวปีก นกตัวผู้มีแถบแดงเล็ก ๆ บริเวณคอด้านหลัง และมีแถบดำบริเวณคอด้านหน้า ซึ่งไม่มีในนกตัวเมีย ใต้หางสีเหลืองคล้ำ ใบหน้าและลำคอสีปนเหลือง

นกแก้วโม่ง
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในอินเดีย ชอบอยู่อาศัยบริเวณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น เขตแพร่กระจายสามารถพบเห็นได้ที่ พม่า อันดามัน ลาว อินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

นกแก้วโม่งชอบหาอาหารเป็นฝูงเล็ก ๆ อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ สามารถใช้ปากเกาะเกี่ยวเคลื่อนตัวไปตามกิ่งไม้ได้ดี

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
หากินอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ นอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ส่งเสียงร้องกันระงม สามารถพูดได้เมื่อนำมาเลี้ยงให้เชื่อง เวลาบินจะบินเป็นฝูงเล็กๆ 8-10 ตัว ชอบเกาะตามยอดไม้

นกแก้วโม่งผสมพันธุ์ระหว่างเดือน ธันวาคม - มีนาคม ทำรับอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง

สถานภาพปัจจุบัน
เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น