วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หอยมือเสือ

หอยมือเสือเป็นหอยสองฝาที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาศัยอยู่ในแนวปะการังที่มีน้ำใสแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งในเขตอินโดแปซิฟิค เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ และทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย

หอยมือเสือจัดอยู่ในวงศ์ (Family)Tridacnidae

หอยมือเสือมีพฤติกรรมต่างจากหอยชนิดอื่นตรงที่หอยมือเสือฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสง จะเรียกเป็นด้านหน้าของหอยมือเสือและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle)ออกมารับแสง ซึ่งส่วนเนื้อเยื่อจะมีสาหร่ายจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate) ชื่อสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) จำนวนมากอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อซึ่งการอยู่ร่วมแบบนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ ซึ่งการอยู่แบบพึ่งพาอาศัย การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายโดยสาหร่ายจะใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่หอยมือเสือปล่อยออกมา หอยมือเสือก็จะได้รับสารอาหารคืนจากที่สาหร่ายผลิตได้บางส่วน ดังนั้นจึงพบเห็นหอยมือเสือจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำใสและมีแสงส่องผ่านไปถึง โดยปกติจะพบ

หอยมือเสือ
หอยมือเสือได้ในระดับความลึกไม่เกิน 20 เมตร ส่วนต่อมาคือ ตรงรอยต่อด้านล่างของฝาหอย เป็นบานพับเปลือก จะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ยื่นออกมาทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ
หอยมือเสือทุกตัวมีสองเพศในตัวเดียว โดยช่วงแรกยังไม่สามารถระบุเพศได้ จนอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป จะเป็นเพศผู้ มีการสร้างน้ำเชื้อ และเมื่ออายุประมาณ 4 ปีครึ่ง จะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย เริ่มสร้างไข่เพื่อสืบพันธุ์ ในเขตร้อนหอยสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งปี ขณะที่ในเขตอบอุ่นหอยจะสืบพันธุ์เฉพาะช่วงฤดูร้อนเท่านั้น

ในน่านน้ำไทยปัจจุบัน พบหอยมือเสือที่มีชีวิตอยู่เพียง 3 ชนิด คือ Tridacna crocea ซึ่งเป็นหอยมือเสือที่มีขนาดเล็กที่สุดและพบมากที่สุด หอยมือเสือชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ในก้อนปะการัง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร ชนิดที่พบมากรองลงมา คือ Tridacna maxima ลักษณะค่อนข้างคล้ายชนิดแรก แต่มักฝังตัวอยู่ในก้อนปะการังหรือตามซอกหลืบประมาณครึ่งตัว โดยโผล่ออกมาเฉพาะแมนเทิล ส่วนชนิดที่พบน้อย อยู่ในสภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ คือ Tridacna squamosa ซึ่งในธรรมชาติจะอาศัยเพียงเกาะติดกับหินหรือปะการัง ไม่ฝังตัว

ประโยชน์ของหอยมือเสือ
1.เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสาหร่ายซูแซนแทลลี่ ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตออกซิเจนและสารอาหาร ให้ปลาและพืชที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

2.ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อยู่ในตัวหอยจะดูดซับเอาสารต่างๆ รวมทั้งของเสียสิ่งขับถ่ายจากสัตว์อื่นในระบบนิเวศ มาสังเคราะห์เป็นอาหารและพลังงานที่เป็น ประโยชน์ หอยมือเสือโรงงานกำจัดของเสียไปพร้อมๆ กัน

3.หอยมือเสือกรองกินอาหารที่ลอยมาตามน้ำ ดังนั้น หากมีฝุ่นตะกอนลอยมาตามน้ำ หอยมือเสือก็จะทำหน้าที่ดูดกรองฝุ่นตะกอนเหล่านั้นไว้ น้ำในบริเวณนั้นจึงใสสะอาด ช่วยให้ระบบนิเวศน์ของทะเลดีตามไปด้วย

4.ไข่ ตัวอ่อน และเนื้อเยื่อที่มีสาหร่ายอยู่ภายใน เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ

5.หอยมือเสือสามารถพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้

1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    คาสิโนออนไลน์ชั้นนำทีมีความปลอดภัยมีมาตรฐานเป็นทางการจากปอยเปต บริการรวดเร็ว ประทับใจ 24 ชม. ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.111player.com

    ตอบลบ