วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระรอกดิน “แพรี่ ด็อก”

กระรอกดิน “แพรี่ ด็อก” เห็นศัตรู เสียงเห่าเหมือนสุนัข
ปัจจุบันบ้านเรามีสัตว์นำเข้ามาหลายชนิด เพื่อสนองต่อความต้องการกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์แปลก จนแทบกลายเป็นแหล่งศูนย์รวมจากทั่วโลกก็ว่าได้ แหล่งศูนย์รวมที่บรรดานักเลี้ยงจะรู้กันดีหนีไม่พ้น “ตลาดซันเดย์” สวนจตุจักรเรานี่เอง มีทั้ง สัตว์เลื้อยคลาน เลือดอุ่น เลือดเย็น กลุ่มฟันแทะ อย่างกระรอก กระแต ในจำนวนนี้ก็มี แพรี่ ด็อก รวมอยู่ด้วย

มีรายงานว่าตั้งแต่ปี’47 ทางประเทศสหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย ได้สั่งห้ามนำเข้าหรือจำหน่ายสัตว์ชนิดนี้อย่างเด็ดขาด หลังพบว่า “แพรี่ ด็อก” และ “หนูแกมเบียน” เป็นตัวพาหะนำเชื้อโรค “ฝีดาษลิง” และแม้จะ มีข้อมูลดังกล่าวออกมา แต่มันก็ยังอยู่ในความสนใจของกลุ่มวัยรุ่นและผู้ที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก

กระรอกดิน “แพรี่ ด็อก”
“แพรี่ ด็อก” (Prairie dog) หรือที่บางคนเรียกว่า “กระรอกหมา” เพราะเวลา ถ้ามันเห็นว่ามีศัตรูมาเยือน จะส่งเสียงเห่าคล้ายสุนัข มีถิ่นกำเนิดที่ทุ่งหญ้าแพรี่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ บ้างก็ว่าแท้จริงแล้วถิ่นเดิมมันอยู่ที่ทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในตระกูลฟันแทะเช่นเดียวกับพวกกระรอก หนูตะเภา แฮมสเตอร์

ลักษณะ "แพรี่ ด็อก" จะมีดวงตาที่โต ฟัน แข็งแรง รูปหน้ามีส่วนคล้ายกระรอกในบ้านเรา เล็บแหลมคม ขาคู่หน้าแข็งแรง ทำหน้าที่ขุดคุ้ยดิน และจับอาหาร ขนสีน้ำตาลทองนิ่ม หาง ยาว 3-4 นิ้ว มีลักษณะเด่นก็คือปลายหางมีสีดำเป็นเอกลักษณ์ ขนรุงรังสีน้ำตาลทอง หูสั้น เท้ามีสีครีม ขนาดตัวไม่ใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 1-2 กิโล หน้าตาน่ารัก มีความ ซุกซน แสนรู้ เป็นรองจากหมา แมว เฟอเรต จึงทำให้มันได้รับความสนใจ กระทั่งกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาของมนุษย์…

กระรอกดิน “แพรี่ ด็อก”
แพรี่ ด็อก” มักอาศัยอยู่เป็นฝูงตัวผู้ 1 ตัว/ตัวเมียประมาณ 4 ตัว พร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปี ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 28-32 วัน ตกลูกครอกละประมาณ 4-5 ตัว/ปี ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน สมาชิกใหม่ช่วงวัย อ่อนยังไม่ลืมตาและไม่มีขนขึ้น กระทั่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 ดวงตาจึงเริ่มเปิด พวกมันมีความอยากรู้อยากเห็น จนต้องปีนป่ายออกมาสู่โลกภายนอกเพื่อเรียนรู้การมีชีวิตบนดิน

ในวันว่างมันมักออกมาทักทายหมู่เพื่อนในฝูง ซึ่งเวลาที่เจอกันครั้งแรกจะทักทายกันด้วยการ “ยิงฟัน” แล้ว “แตะ” กัน ซึ่งบางคนมองว่าอาการดังกล่าวเหมือนกับคนเราที่ “จูบ” กัน จากนั้นก็จะช่วยกันทำความสะอาดขนให้กันและกัน หรือไม่ก็ขุดรูใต้ดินทั้งเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารจำพวกต้น รากรวมทั้งเมล็ดพืชกิน ส่วนการมีชีวิตของพวกมัน จากข้อมูลพบว่าตัวเมียจะอายุยืน 8 ปี ส่วนตัวผู้เฉลี่ยที่ 5 ปี

สำหรับใครที่สนใจอยากมีไว้เป็นเพื่อนต้องถามใจตัวเองก่อนว่า สามารถดูแลมันกระทั่งลมหายใจสุดท้ายในชีวิตของมันได้หรือเปล่า ถ้า “เบื่อง่าย หน่ายเร็ว” แล้วปล่อยให้มันออกมาเพ่นพ่านอย่าง “อิสระเสรีไร้ พรมแดน” ซักวันพวกมันอาจกลายเป็นศัตรูทางการเกษตร ที่บ้านเราก็มีมากเกินพอแล้ว

ที่มา : http://www.thairath.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น