1. นกเอี้ยงสาริกา (Common Myna)
2. นกเอี้ยงหงอนหรือเอี้ยงคำ (Crested Myna)
3. นกเอี้ยงด่าง (Pied Starling)
4. นกเอี้ยงนวล (Jerdon's Starling)
5. นกกิ้งโครงคอดำ (Black - Collared Starling)
6. นกขุนทองหรือนกเอี้ยงดำ (Hill Myna)
นกขุนทอง |
ความยาว : มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 27-80 เซนติเมตร (วัดจากจะงอยปากถึงปลายหาง)
สี : ขนทั่วตัวมีสีดำเหลือบอมน้ำเงิน หรือสีดำเหลือบเขียว บริเวณหัว ต้นคอ และ หน้าอกจะมีสีม่วงเงา ๆ บริเวณปลายปีกด้านล่างจะมีขนสีขาวแซม ซึ่งจะเห็นได้ชัดเวลาบิน ขนหางจะเป็นมันเงาสีเขียวขุ่น ๆ ขาและเท้าจะเป็นสีเหลือง ในลูกนกจะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่ขนจะไม่เป็นมันเงา จะมีเหนียงขนาดเล็กสีแดงและสดที่ด้านข้างของใบหน้าใต้ตา และมีเหนียงขนาดใหญ่ สีเหลืองสดคลุมทั่วท้ายทอย หนามีสีส้มอมแดง หรือสีเหลืองอมส้ม
นัยน์ตา : มีสีน้ำตาล
ลำตัว : มีลักษณะป้อม หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง
ข้อสังเกตโดยทั่วไป
- เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน ไม่สามารถดูได้จากตาเปล่า จะต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น DNA sexing, การตรวจเลือด
- นกขุนทองมีอายุประมาณ 10-20 ปี
- ในประเทศอินเดียทางตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำนกขุนทองมาทำแกงเผ็ด ซึ่งถือเป็นอาหารจานโปรดของคนในแถบนั้น
- สถานะเป็นนกประจำถิ่น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น