นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown shrike) เป็นนกเมืองหนาวอพยพย้ายถิ่นอาศัยเข้ามาหากินในประ–เทศไทย พบได้บ่อยในช่วงปลายฤดูร้อนและปลายฤดูฝน ทั่วประเทศมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ นกอีเสือลายเสือ นกอีเสือหลังแดง นกอีเสือหลังเทา นกอีเสือสีน้ำตาล และนกอีเสือหัวดำ ซึ่งสองชนิดหลังนี้จะพบบ่อยตามทุ่งนา ป่าหญ้า นกอีเสือฯ มีนิสัยหวงถิ่นหากิน ส่งเสียงดัง บินวนไปมาเพื่อไล่นกชนิดอื่นๆที่เข้ามาใกล้เขตหากิน ไม่เว้นแม้แต่นกล่าเหยื่ออย่างเหยี่ยว ชอบหากินตามลำพัง เกาะอยู่ตัวเดียวตามกิ่งไม้ รั้วบ้าน ทุ่งหญ้า ท้องนาโล่ง อย่างสงบนิ่งไม่ส่งเสียงหรือเคลื่อนไหว มีเฉพาะเพียงดวงตาที่คอยขยับเขยื้อนจับจ้องมองหาเหยื่อโชคร้ายที่ผ่านไปมา
|
นกอีเสือสีน้ำตาล |
อาหารของนกอีเสือสีน้ำตาล
เป็นจำพวกแมลงปีกแข็ง ตั๊กแตน กบ เขียด จิ้งเหลน กิ้งก่า ลูกหนู รวมทั้งลูกนก พวกมันก็ไม่เว้น ถ้ามันได้เหยื่อจะใช้ปากงุ้ม เขี้ยวที่แหลมคมจะฉีกเนื้อของเหยื่อที่จับได้ออกเป็นชิ้นๆ นอกจากนี้พวกมันยังมีพฤติกรรมที่คล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างเสือโคร่งหรือเสือดาว คือหลังจากจับเหยื่อได้แล้ว แต่กรงเล็บมันไม่แข็งแรงพอที่จับเหยื่อฉีกกิน ดังนั้นมันจึงต้องใช้ ประโยชน์จากต้นไม้ที่มีหนาม หรือแม้กระทั่งลวด หนามเพื่อเสียบเหยื่อให้ สามารถฉีกกินได้สะดวก จนกระทั่งอิ่ม นิสัยของนกอีเสือฯ ยังชอบ "เหลือเหยื่อไว้กินคราวต่อไป"
|
นกอีเสือสีน้ำตาล |
รูปร่างลักษณะของนกอีเสือสีน้ำตาล
หัวโต คิ้ว เป็นเส้นสีน้ำตาลอ่อนออกขาว ปาก ใหญ่หนา ปลายปากแหลมงุ้มเป็นจะงอยสีน้ำตาลเข้มออกดำ ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของมัน และที่แปลกกว่านกทั่วๆไปคือ พวกมันมี "ฟันแหลมๆหนึ่งซี่อยู่ที่ขอบปากบน" มี แถบสีดำตั้งแต่โคนปากไปถึงหู ดูคล้าย "หน้ากาก" ลำตัว เพรียว ขน คลุมลำตัวสีน้ำตาลแดง ปีก สีน้ำตาลเข้มที่ใต้คาง หน้าอกสีน้ำตาลปนขาว หาง ยาวสีตาลเข้มกว่าลำตัว ใต้หางบริเวณก้นสีน้ำตาลปนเทาอ่อน ขาสีดำ เล็บแข็งแรงแหลมคม ตัวผู้และตัวเมียสีจะคล้ายกัน
|
นกอีเสือสีน้ำตาล |
สำหรับช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม หลังจากจับคู่แล้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันหากิ่งเหมาะบนต้นไม้ที่มีความสูง เพื่อทำรังวางไข่ ครั้งหนึ่งมีประมาณ 3-6 ฟอง ใช้เวลากก 15-16 วัน ลูกนกจึงออกมา ในวัยที่ยังเล็กทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันหาอาหารมาป้อน กระทั่งผ่านพ้น 2 สัปดาห์ เจ้าตัวเล็กจะเริ่มหัดบิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น